การกำหนดราคา
ในปัจจุบันนี้การกำหนดราคาที่เหมาะสมจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยข้อมูล ผู้ผลิตต้องพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ใดที่มีความสำคัญต่อผู้บริโภคมากที่สุดและควรวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการกำหนดราคา เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความพึงพอใจของลูกค้าและการเพิ่มยอดขายรวมไปถึงการเพิ่มผลกำไรสูงสุด
เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจในความยืดหยุ่นของราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาของอาหารการกินต่างๆ นอกจากนี้คุณอาจจะต้องปรับราคาให้เหมาะสมท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตลาดหรือพื้นที่ที่คุณอยู่ อีกประการหนึ่งคือการขึ้นราคาสินค้าสามารถแบ่งเฟสเพื่อลดผลกระทบและติดตามการตอบสนองของผู้บริโภค ในการขึ้นราคาสินค้าทีละน้อยอาจส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าการขึ้นราคาทันทีทันใด
การเปลี่ยนแปลงราคาคือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดหรือไม่?
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและวัตถุประสงค์ก็มีความสำคัญเช่นกัน เหล่าผู้ผลิต CPG ควรตั้งคําถามเช่น:
- การขึ้นราคาเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการขยายธุรกิจจริงหรือ?
- ควรรักษาราคาเดิมไว้เพื่อดึงดูดลูกค้าต่อไปหรือไม่?
- ฉันจะสามารถรักษากำไรขั้นต้นต่อไปได้อย่างไร?
ผู้ผลิตจำเป็นต้องระบุว่าเหตุใดลูกค้าจึงให้ความสําคัญกับผลิตภัณฑ์ของตน ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตอบสนองความต้องการอะไร? ปัจจัยพื้นฐานใดบ้างที่กระตุ้นให้ผู้ซื้อกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ
หากเป็นไปได้จะเป็นการดีที่สุดที่จะทำการขึ้นราคาสินค้าควบคู่ไปกับคุณภาพหรือคุณลักษณะใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นที่น่าสนใจทีว่าอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง โดยพบว่า 65% ของผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และอีก 86% ของผู้บริโภคที่สนใจจะทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในการสื่อสารอีกทางหนึงผู้ผลิตอาจเน้นย้ำไปที่คุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการมากที่สุด กุญแจสำคัญอยู่ที่การระบุคุณสมบัติหรือคุณลักษณะใดที่สำคัญที่สุดต่อลูกค้าด้วยความแม่นยำ
การแบ่งประเภท
ผู้ผลิตที่ใช้แนวทางที่ชาญฉลาดในการกําหนดราคาและการแบ่งประเภทจะประสบความสําเร็จมากขึ้นในการรักษายอดขายและปริมาณต่อหน่วยในขณะเดียวกันก็ยังรักษาฐานลูกค้าไว้ได้แม้จะมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตาม
ผู้ค้าปลีกต้องมีความสามรถในการคัดสรรผลิตภัณฑ์เพื่อปรับให้เหมาะสมสําหรับความลึกและความกว้าง การวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือนั้นจะช่วยในการสนับสนุนธุรกิจและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของคุณได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น รายได้ครัวเรือนและไลฟ์สไตล์ (เช่น การรับประทานอาหารคีโตหรืออาหารจากพืช) ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจมีความต้องการสูงขึ้นในบางพื้นที่หรือแม้กระทั่งในสถานที่ตั้งร้านค้าต่างๆ ในเมืองเดียวกัน
แน่นอนว่าความชอบและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อเร่งการเติบโตที่ทำกำไรได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตต้องปรับเปลี่ยนการจัดประเภทสินค้าของตนอย่างต่อเนื่อง การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ค้าปลีกทำให้ต้องการความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการและปรับเปลี่ยนการจัดประเภทตลอดจนกระบวนการวางแผน
การมีความสามารถในการวิเคราะห์ที่เหมาะสมทําให้ผู้ผลิตสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว
การดําเนินการในธุรกิจค้าปลีก
เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคจะไม่รู้สึกหนักใจกับการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างต่อเนื่องผู้ผลิตควรพิจารณาเสนอโปรโมชั่นสําหรับผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมหรือลดราคาของผลิตภัณฑ์หลัก เพื่อโอกาสในการได้มาซึ่งกำไรขั้นต้นสำหรับสินค้าบางรายการ การตัดสินใจด้านการกำหนดราคาที่ดีที่สุดจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัยเพื่อระบุว่าผลิตภัณฑ์ใดที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านราคาน้อยที่สุดในแบบเรียลไทม์
ในแต่ละปีเงินจำนวนมหาศาลถูกใช้ไปกับการทำโปรโมชั่นที่ไร้จุดหมาย ตัวอย่างเช่น 37% ของยอดขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายใปีงบประมาณ 2564 อย่างไรก็ตาม 52% ของยอดขายก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนถึงแม้จะไม่ได้ทำการส่งเสริมการขายก็ตาม การตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจและมุ่งเน้นไปที่การทำโปรโมชั่นจะส่งผลให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น วีธีนี้สามารถช่วยผู้ผลิตในการคืนทุนหรือนำเงินไปลงทุนใหม่ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ในตลาดเอเชียแปซิฟิกมียอดขายที่เพิ่มขึ้น 12% โดยเฉลี่ยน้อยกว่าหนึ่งปีหลังจากใช้การกลยุทธ์การวิเคราะห์ราคาและการส่งเสริมการขาย
การวิเคราะห์ข้อมูลนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการแบ่งหรือคัดเลือกประเภทของสินค้าตามฤดูกาลอีกด้วย ผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนข้อเสนอการขายสินค้าให้เหมาะสำหรับช่วงเวลาของการซื้อและเมองเห็นการดำเนินการและการกำหนดราคาโดยรวมของสินค้าในแต่ละหมวดหมู่ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตช็อกโกแลตอาจจัดหาสินค้าที่มีความหลากหลายและทำการลดราคาห้เหมาะสมกับเทศกาลต่างๆ เช่น วันฮาโลวีนหรือวันวาเลนไทน์
ความร่วมมือกันระหว่างผู้ค้าปลีกและซัพพลายเออร์
การวัดผลและจัดการชั้นวางขายสินค้าเป็นสิ่งสําคัญในการทํางานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก การมีสินค้าที่พร้อมจำหน่ายบนชั้นวางอยู่เสมอเป็นสิ่งสําคัญและเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จ อุตสาหกรรมค้าปลีกอาหารของสหรัฐฯ พบว่าสินค้าขาดสต็อกถึง 7.4% ในช่วง 52 สัปดาห์ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งทําให้อุตสาหกรรมสูญเสียยอดขายไปอย่างน้อย 88 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามการมีสินค้าที่พร้อมจำหน่ายบนชั้นวางอยู่เสมอจะพบว่ายอดขายเพิ่มขึ้นหนึ่งเปอร์เซ็นต์
ฤดูกาลจับจ่ายในช่วงวันหยุดของปี 2564 กำลังดำเนินไป แต่ชั้นวางที่ปราศจากสินค้าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยอดขายลดลง สินค้าที่พร้อมจำหน่ายบนชั้นวาง (OSA) สําหรับเดือนพฤศจิกายน 2564 คิดเป็นร้อยละ 93.2% ซึ่งต่ํากว่ากว่ายอดขายรวมของทั้งปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 94.3% และพบว่ามีสินค้าไม่พร้อมต่อการจำหน่ายคิดเป็น 6.7% ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกอันเนื่องมาจากการไม่ทำงานร่วมกัน
นี่ไม่ใช่เวลาที่จะเก็บความลับระหว่างคู่ค้าในธุรกิจของคุณ ซัพพลายเออร์และผู้ค้าปลีกที่ทํางานร่วมกับ NielsenIQ มียอดขายโดยรวมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2%-3% พวกเขาแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน ในช่วงเวลาของอัตราเงินเฟ้อที่ไม่เคยมีมาก่อนส่งผลให้เกิดความท้าทายในธุรกิจห่วงโซ่อุปทานรวมไปถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งเหล่าบริษัท CPG ไม่สามารถดําเนินการในส่วนของการจัดการข้อมูลแบบไซโลได้ (การจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์)