แนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภค
แม้จะต้องเจอกับปัญหาความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ผู้บริโภคบางรายก็พร้อมที่จะยกระดับการเฉลิมฉลองด้วยการเลือกซื้อของและบริการระดับพรีเมียม ตั้งแต่วัตถุดิบคุณภาพดีที่นำมาทำอาหารที่บ้าน ไปจนถึงการเลือกรับประทานอาหารที่ร้านอาหารสุดหรูหรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ อย่างไรก็ตาม ทัศนคติเรื่องการใช้จ่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจมีแนวโน้มไปทางด้านการลดงบประมาณมากขึ้น โดยคนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช่จ่ายในงบที่คงที่ หรือลดรายจ่ายลงในช่วงวันหยุดเทศกาล ในปีผ่านๆมา ชาวไทยต้องเจอกับปัญหาจากแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมือง ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ (84%) ตั้งใจที่จะใช้จ่ายเท่าเดิม หรือลดการใช้จ่ายในการเฉลิมฉลองช่วงวันหยุดและลดการเฉลิมฉลองทางสังคม โดยมีเพียงผู้บริโภคชาวไทยเพียงกลุ่มเล็กที่วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในการเฉลิมฉลองในปีนี้
ถึงแม้แนวโน้มโดยรวมจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะประหยัดการใช้จ่าย แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการใช้งบประมาณในการซื้อของขวัญมูลค่าสูงและประสบการณ์ระดับพรีเมียม จากรายงานแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจในการใช้งบประมาณที่โดดเด่น โดยที่ผู้บริโภคถึง 69% วางแผนใช้จ่ายกับวัตถุดิบระดับพรีเมียมและมีคุณภาพเพื่อการเฉลิมฉลองที่บ้าน 59% วางแผนที่จะใช้จ่ายมากขึ้นในการรับประทานอาหารนอกบ้าน และ 39%
วางแผนที่จะใช้จ่ายมากขึ้นในการรับประทานอาหารที่ร้านหรูระดับพรีเมียม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG) โดยเฉพาะอาหารสดเกรดพรีเมียม มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์ด้านการค้าขาย เนื่องจาก 74% ของผู้บริโภคพึงพอใจที่จะเลือกซื้อเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลคุณภาพดีเพื่อนำมาใช้ทำอาหารช่วงวันหยุดเทศกาล และในทางกลับกัน ก็ยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่เลือกใช้มาตรการลดต้นทุน โดย 32% วางแผนที่จะใช้จ่ายน้อยลงโดยเลือกการเฉลิมฉลองที่ไม่ใช้งบประมาณสูง ซื้อสินค้าที่มีโปรโมชั่น และจัดทำของขวัญแบบโฮมเมดมากกว่า จาก รายงานข้อมูลเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการเลือกประสบการณ์ที่มีคุณภาพและมากกว่าวัตถุ
ในปัจจุบัน ผู้คนได้กลับมาเดินทางท่องเที่ยวกันมากขึ้นอีกครั้ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดด้านการเลือกรับประสบการณ์ที่มีคุณค่า มากกว่าการเลือกซื้อวัตถุสิ่งของ โดย 71% เชื่อว่าค่านิยมและการเลียงลำดับความสำคัญของตนได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสองปีที่ผ่านมาหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในจำนวนนั้น 39% เห็นพ้องว่าพวกเขาได้ตระหนักว่า ประสบการณ์มีความสำคัญมากกว่าการครอบครองวัตถุสิ่งของ จึงทำให้ความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น และช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นช่วงที่มีการเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุดของคนไทย
การเลือกซื้อสินค้า Private Label และการตัดสินใจโดยคำนึงถึงงบประมาณ
ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในกลุ่มสินค้าแบรนด์ทั่วไปจากร้านค้าที่พัฒนาและจำหน่ายโดยใช้แบรนด์หรือยี่ห้อของตนเอง (Private Label) โดยยังคงรักษาสมดุลระหว่างคุณภาพกับต้นทุนไว้ จากการวิจัยของ NIQ แสดงให้เห็นว่า 35% ของผู้บริโภคมีความเห็นว่าสินค้า Private Label มักมีคุณภาพสูงกว่าหรือเท่ากันเมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์เนม และอีก 21% กล่าวว่าพวกเขายินดีจ่ายเงินเท่ากันหรือมากกว่าเพื่อซื้อสินค้า Private Label ทั้งนี้ นักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ได้ ด้วยการแสดงให้เห็นคุณค่าและคุณภาพของสินค้า Private Labe ที่มีาเมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์เนม และสามาถนำเสนอสินค้าตัวเลือกที่เป็นมิตรกับงบประมาณและยังมีคุณภาพดี
การตลาดเชิงพลวัตและข้อมูลเชิงลึกเชิงกลยุทธ์
พลวัตของการตลาดกำลังเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการบริโภคที่ฉลาดมากขึ้น โดยเน้นที่คุณภาพและประสบการณ์ จากข้อมูลเชิงกลยุทธ์ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และปรับตัวด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ ธุกิจยังต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างความต้องการและความจำเป็นในการเลือกซื้อสินค้า และมุ่งเน้นไปที่การมอบสินค้าที่มีคุณค่าและคุณภาพ
การคาดการณ์ในช่วงสงกรานต์ ปี 2567
ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อการพบปะเจอกันและการอยู่กับคนที่เรารักมากกว่าการซื้อของขวัญ ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความพึงพอใจต่อประสบการณ์และเวลาที่มีคุณคุณค่ามากกว่าวัตถุ เทรนด์นี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างข้อเสนอที่เอื้อต่อประสบการณ์ที่น่าจดจำต่อผู้ที่เดินทางกลับบ้านเพื่อเยี่ยมครอบครัวหรือเพื่อนฝูงเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลนี้
กลยุทธ์ความเป็นผู้นำในการปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงวันหยุดยาว
ธุรกิจควรมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอคุณค่าและความสะดวกสบาย และใช้ประโยชน์จากสินค้า Private Label เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การชี้เน้นให้เห็นถึงคุณภาพและคุณค่าของสินค้า Private Label และการทำให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งสะดวกสบายและเป็นส่วนตัวมากขึ้น สามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ปรับตัวเข้ากับแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงวันหยุดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลจาก: NIQ Mid-year Consumer Outlook Survey, 2023
ข้อแนะนำเชิงกลยุทธ์
เพื่อสำรวจภูมิทัศน์ของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับ:
- ใช้ประโยชน์จากกระแสนิยมในการเฉลิมฉลองที่บ้าน ด้วยการจัดเตรียม ตัวเลือกวัตถุดิบและสินค้าในการทำทานอาหารที่ไม่เหมือนใคร ตอบสนองความต้องการในการพบปะสังสรรค์ของผู้บริโภค
- คาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความแตกต่าง ด้วยกลยุทธ์เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่คำนึงถึงงบประมาณ และกลุ่มที่ชอบประสบการณ์หรูหรา
- ปรับใช้การตลาดที่รอบคอบ โดยเน้นนำเสนอบริการหรือสินค้าที่มอบประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากกว่าสินค้าที่เป็นวัตถุ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในการเฉลิมฉลองช่วงวันหยุด
- ร้านอาหารทั่วไปและร้านอาหารหรู สามารถใช้ประโยชน์จากแนวโน้มการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเข้าสังคม ด้วยการจัดโปรโมชั่นด้านจัดส่งและบริการจัดเลี้ยงต่างๆ
อนาคตของกลุ่มสินค้า CPG
เทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทยนำเสนอภูมิทัศน์ของตลาดแบบไดนามิก จากการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของผู้บริโภคและความกดดันทางเศรษฐกิจ ธุรกิจควรปรับข้อเสนอและกลยุทธ์การตลาดของตนให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าของตน ด้วยการเปิดรับแนวคิดแบบ Less-is-more และมุ่งเน้นที่การมอบคุณค่าและความน่าเชื่อถือ แบรนด์ต่างๆ จึงจะสามารถก้าวผ่านความท้าท้ายช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองได้ ซึ่งจะทำให้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ส่งผลกระทบทางด้านบวกต่อทั้งผู้บริโภคและธุรกิจได้
เข้าถึง Full view ของการใช้จ่ายสินค้าFMCG ในไทยช่วงเทศกาล
ในสภาพแวดล้อมที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แบรนด์และผู้ค้าปลีกต้องการข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อเปิดโอกาสในการเติบโตนัดหมายปรึกษากับเราเพื่อสำรวจว่าข้อมูลเชิงลึกของเราสามารถส่งเสริมการตัดสินใจทางธุรกิจของคุณได้อย่างไร